ประวัติความเป็นมา




    

ประวัติความเป็นมา กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง 


          กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง   จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี   และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ   50   ปี     เลขาธิการพระราชวัง     (นายแก้วขวัญ  วัชโรทัย)   ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักพระราชวัง  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  และสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ   เพื่อจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)    ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง     เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2538   โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้อาคารเครื่องสูงเดิม อาคารที่พักข้าราชบริพารเดิม    (อาคารเต๊ง) และอาคารโบราณข้างหมวดวรอาสน์เป็นอาคารเรียน  รวม   3  หลัง    ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง   เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2538  ระดับ ปวช.สาขาวิชาช่างทองหลวง  และสาขาวิชาวิทยาการการเจียระไนอัญมณี ในปีงบประมาณ  2542  วิทยาลัยได้ขยายวิทยาเขตแห่งที่ 2 ขึ้นในพื้นที่ 16 ไร่   เลขที่  299/1   หมู่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  มีอาคารรวม 4 หลัง  ประกอบด้วยอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมโรงอาหาร-หอประชุม   และอาคารที่พักครู-อาจารย์   เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 การเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา  2543    กระทรวงศึกษาธิการ  อนุมัติเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาช่างทองหลวง   โดยให้กาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ช่างทองหลวง   เข้าร่วมเป็นศูนย์การเรียนของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน   ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 – 2547  มีนักศึกษา  จำนวน 5 รุ่น

ที่ตั้ง ขนาด  ข้อมูลพื้นฐาน
                               
















                               �  กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง  ในพระบรมมหาราชวัง  

                                     ในพระบรมมหาราชวัง ถนนเขื่อนขันธ์นิเวศน์ แขวงพระราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
                                     โทรศัพท์-โทรสาร   0-22218791,  0-22245053
    
                                �  กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง  ศาลายา
                                     299/1 หมู่ 5 ถนนศาลายา-บางภาษี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
                                     โทรศัพท์-โทรสาร  0-24313611,13   เนื้อที่ 16 ไร่

                               เว็บไซด์   www.goldsmith.ac.th

วัตถุประสงค์
                3.1  เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ  ด้านงานช่างทองหลวง  งานเครื่องเงิน  เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน   รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล
                3.2  เพื่อผลิตช่างฝีมือ  ช่างชำนาญการช่างผู้เชี่ยวชาญในการสืบทอด  และพัฒนางานด้านงานช่างทองหลวง งานเครื่องเงิน เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน   รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล
                3.3  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้านงานช่างทองหลวง  งานเครื่องเงิน  เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน   รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล
                3.4  เพื่อทำระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ  (Thailand Vocational Qualification : TVQ)  ของอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี  มาใช้ในการพัฒนาก

ปณิธาน 

มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะ  ดังนี้

-          มีฝีมือ

-          มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์

-          มีความเพียรพยายาม ขยันและอดทน

-          มีความซื่อสัตย์ สุจริตและประหยัด

-          มีเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีในอาชีพ

-          มีความเข้าใจ และความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย

 

   การน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติ

      เข้าใจ = กฎ ระเบียบ หลักสูตร

      เข้าถึง = ประโยชน์ คุณค่า ผลสัมฤทธิ์

      พัฒนา = ตนเอง งาน  ระบบอย่างต่อเนื่อง

 

ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เพิ่มโอกาสการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางและต่อเนื่อง

                มาตรการ

  • จัดการศึกษาระดับ ปวช. ,ปวส. ระยะสั้นและระดับปริญญาตรี ให้ยืดหยุ่น หลากหลาย
  • จัดการศึกษาระบบทวิภาคี ระบบการเทียบโอนความรู้ประสบการณ์
  • พัฒนาหลักสูตรเน้นฐานสมรรถนะวิชาชีพ 
  • ยกระดับความสามารถเรื่องภาษา  เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือจัดการศึกษากับทุกภาคส่วนในทุกระดับ
  • จัดหา  พัฒนาอาคารสถานที่ และครุภัณฑ์การศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๒  :  สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ

                มาตรการ

  • ปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการคัดเลือกเข้าเรียนอาชีวศึกษา
  • แนะแนวการศึกษา เพื่อสร้างเส้นทางอาชีพสำหรับผู้จบการอาชีวศึกษา
  • รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ การศึกษาวิชาชีพ
  • สร้างระบบยกย่องผู้ประสบความสำเร็จในการทำงาน
  • สร้างความภาคภูมิใจในการเรียนวิชาชีพ

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพเอื้ออาทรต่อสังคม

                มาตรการ

  • จัดตั้งและส่งเสริมชมรมองค์กรวิชาชีพ
  • จัดและส่งเสริมกิจกรรมดนตรี กีฬา นันทนาการ เพื่อสร้างความสามัคคี และนำความรู้ที่ ได้ไปใช้ประโยชน์
  • จัดระบบวิธีการช่วยเหลือดูแลนักเรียน นักศึกษาเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด พฤติกรรมวัยรุ่น
  • การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบาย ๓D สู่การปฎิบัติ
  • สร้างผู้นำอาชีวศึกษาในการช่วยเหลือเอื้ออาทรสังคม (สุภาพบุรุษอาชีวศึกษา อาชีวสมานฉันท์ สร้างสรรค์ความดี และ ๑๑ดี ๑๑เก่ง)

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๔  : การสร้างเสริมเติมปัญญา และการพัฒนาอาชีพเชิงบูรณาการ

                มาตรการ

  • สร้างอาชีพ แก้ปัญหาสังคม ขจัดความยากจน การตกงาน ให้อาชีพเสริมแก่คนพิการ ด้วยโครงการ Fixed it Centerโครงการ ๑๐๘ อาชีพ การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
  • เพิ่มทักษะอาชีพแก่ผู้ประกอบการและกลุ่ม SMEs.
  • จัดการฝึกอบรมอาชีพต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น (OTOP)   
  • เชื่อมโยงความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสถานศึกษา

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๕  : การเพิ่มศักยภาพครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

มาตรการ

  • พัฒนายกระดับมาตรฐานครูวิชาชีพ ครูฝึกและเพื่อให้ทันกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่  
  • ฝึกอบรมและพัฒนาครู อาจารย์ บุคลากร (ทักษะวิชาชีพ คุณธรรม บทบาทใหม่ของครู  อาจารย์ การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ความรู้อื่น ๆ )
  • ยกระดับและวิทยฐานะของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
  • การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาต่อ การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๖  : การรวบรวมองค์ความรู้การพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรการ

  • ส่งเสริมการรวบรวมภูมิปัญญาสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
  • ส่งเสริมการจัดทำโครงงานวิชาชีพ(Project work)ของนักศึกษา
  • พัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบข้อมูลเครือข่าย สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
  • E-Book  E-Learning และ ห้องสมุดมีชีวิต LIVING LIBRARY
  • จัดทำฐานข้อมูลกำลังคนในสาขาวิชาชีพ

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๗  : พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

มาตรการ

  • ให้มีคณะกรรมการวิทยาลัย(ตาม พรบ.การอาชีวศึกษา พุทธศักราช ๒๕๕๑)
  • กำหนดศักยภาพและอัตลักษณ์ความเชี่ยวชาญของสถานศึกษา
  • การระดมและการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงาน สถานประกอบการ
  • ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภายนอก
    • จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกลุ่มClusterในรูปแบบสถาบันเฉพาะทาง
    • พัฒนาระบบมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ
    • ปรับบทบาทสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาวิชาชีพสาขาช่างทองหลวงและช่างเครื่องประดับอัญมณีรองรับการเปิดเสรีในภูมิภาคอาเซียน